
ฉีดฟิลเลอร์ปลอม อันตราย ! รู้ถึงผลข้างเคียง และวิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ ก่อนพลาดไปฉีด
ฉีดฟิลเลอร์ปลอม
ฉีดฟิลเลอร์ปลอม กำลังเป็นปัญหาที่พบบ่อยในการฉีดฟิลเลอร์ โดยเฉพาะจากการหลงเชื่อโฆษณาราคาถูกตามสื่อออนไลน์ หรือคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน Gangdara พบว่าการฉีด Filler ปลอมนอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง ทั้งการอักเสบ ติดเชื้อ หรือในบางรายถึงขั้นเนื้อตาย ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไข
บทความนี้ จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอม ว่าคืออะไร ? อันตรายอย่างไรบ้าง ? มีลักษณะอย่างไร ? พร้อมแนะนำวิธีสังเกต และการเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ เพื่อความปลอดภัยในการฉีดฟิลเลอร์
คลิกอ่านหัวข้อ ฟิลเลอร์ปลอม
รู้จัก ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร ? ก่อนตัดสินใจฉีด
ฟิลเลอร์ปลอม คือ ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) โดยสารเติมเต็มในกลุ่มนี้มักเป็นสารถาวรที่ไม่สามารถสลายได้เอง เช่น ซิลิโคน หรือ พาราฟิน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่เคยใช้ในอดีต เนื่องจากราคาไม่แพงและอยู่ได้นาน
แม้ว่าหลังฉีดจะดูเหมือนปกติในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป มักทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ระยะยาว เช่น การไหลย้อย การจับตัวเป็นก้อนแข็ง การอักเสบ หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อรุนแรง

ในประเทศไทย ฟิลเลอร์ที่นับว่าปลอดภัย หรือ เป็นฟิลเลอร์แท้ จะนับจากสารเติมเต็มที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือ ไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นฟิลเลอร์แบบชั่วคราว ที่มีความปลอดภัยสูง สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ สามารถใช้ฉีดเติมเต็มชั้นผิวหนัง ให้ความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเต่งตึง ดูอ่อนเยาว์ และปรับรูปหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เป็นอันตราย

สาระน่ารู้
นอกจากฟิลเลอร์ปลอม ยังมีสิ่งที่ต้องระวังคือ ฟิลเลอร์หิ้ว หรือ ฟิลเลอร์เถื่อน เพราะถึงแม้จะเป็นฟิลเลอร์แท้ แต่ไม่ได้ผ่านการจัดเก็บตามมาตรฐาน เช่น การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ตัวยาเสื่อมคุณภาพ หากฉีดโดยหมอกระเป๋าหรือในสถานที่ไม่สะอาด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและใบหน้าผิดรูปได้

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกฉีด ฟิลเลอร์แท้ Hyaluronic Acid (HA) กับแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในคลินิกที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีด Filler ปลอมครับ
ฟิลเลอร์ปลอม อันตรายอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?
ฟิลเลอร์ปลอม เป็นอันตรายอย่างมากในการฉีด เพราะใช้สารอย่าง ซิลิโคนเหลว หรือ พาราฟิน ที่มักโฆษณาว่า “อยู่ได้นาน” แต่แท้จริงแล้วไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้

- ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน : หลังฉีดไป 3-5 ปี สารเหล่านี้อาจไหลไปรวมตัวกันจนเกิดก้อนแข็ง ทำให้ผิวบวมผิดรูป หรือเกิด พังผืดเกาะ จนส่งผลให้ผิวเน่าหรือใบหน้าผิดรูปได้
- บวมแดงและอักเสบ : ฟิลเลอร์ปลอมมักกระตุ้นให้เกิด ปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ (reaction หรือ granuloma) ซึ่งอาจลุกลามจนเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะหากฉีดในคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน
- การติดเชื้อ : การฉีดในสถานที่ไม่สะอาด เช่น คลินิกเถื่อน หรือห้องที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ อาจทำให้ผิวบริเวณที่ฉีดติดเชื้อ เกิดอาการบวมแดง หรือเป็นหนอง
- เนื้อตาย (necrosis) : หากฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปอุดตันเส้นเลือด จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เกิดเนื้อตายอย่างถาวร
- ตาบอด : แม้จะพบได้น้อย แต่การฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่เข้าไปอุดตันเส้นเลือดใกล้ดวงตา อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
สำหรับคนที่กังวลว่า ฟิลเลอร์ อันตรายไหม คำตอบคือ หากใช้ฟิลเลอร์ปลอม ย่อมอันตรายอย่างแน่นอน แต่ถ้าใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. และฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ ความเสี่ยงจะน้อยลงมากครับ
ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านี้ ในหัวข้อถัดไปเราจะแนะนำวิธีเลือกคลินิกที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้พลาดไปฉีดฟิลเลอร์ปลอมครับ
วิธีเลือกคลินิกฉีดไม่ให้เจอฟิลเลอร์ปลอม
การเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐานช่วยป้องกันความเสี่ยงจาก Filler ปลอม ที่อาจส่งผลเสียได้มากมายหลังฉีด ในหัวข้อนี้เราจะแนะนำวิธีเลือกคลินิกเพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีที่สุดครับ

- เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน
คลินิกต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง มีใบอนุญาตประกอบการจากกระทรวงสาธารณสุข ติดแสดงรายละเอียดและรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ คลินิกควรสะอาด ปลอดภัย และดูแลเรื่องการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม
- เลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์และเป็นแพทย์จริง
แพทย์ที่ทำหัตถการต้องมีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์และปรับรูปหน้า สามารถตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล ของแพทย์ ได้จากเว็บไซต์แพทยสภา เพื่อยืนยันว่าเป็นแพทย์จริงและมีใบประกอบวิชาชีพ
- เลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ผ่านการรับรองจาก อย.
ฟิลเลอร์ที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) สามารถตรวจสอบเลข Lot. ได้ โดยแพทย์ควรแกะกล่องและหลอดฟิลเลอร์ให้ดูต่อหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นของแท้ รวมถึงหลังฉีดควรเก็บกล่องและหลอดฟิลเลอร์กลับบ้านเพื่อตรวจสอบได้
- ดูรีวิวจากแหล่งที่เชื่อถือได้
เลือกคลินิกที่มีรีวิวจากแหล่งที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือ เช่น Facebook Fanpage, Pantip Review, หรือ Google Maps รีวิวเหล่านี้ควรอัปเดตเป็นปัจจุบันและไม่สามารถลบออกได้ เพื่อแสดงถึงความนิยมและความน่าไว้วางใจ
ฟิลเลอร์ปลอม มีลักษณะอย่างไร ?
ฟิลเลอร์ปลอม มักจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจากอย. โดยลักษณะสำคัญที่สามารถบ่งบอกได้ว่าฟิลเลอร์นั้นเป็นของปลอม มีดังนี้

สารที่ใช้ไม่ผ่านมาตรฐาน
ฟิลเลอร์ปลอมมักมีส่วนผสมของ ซิลิโคนเหลว หรือ พาราฟิน ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เมื่อฉีดเข้าสู่ผิวจะทำให้เกิดการสะสมและก่อให้เกิดปัญหาบนใบหน้าในระยะยาว เช่น การจับตัวเป็นก้อนหรือการอักเสบ
นำเข้าแบบผิดกฎหมาย ไม่ผ่าน อย.
ฟิลเลอร์ปลอม มักเป็นฟิลเลอร์หิ้ว ฟิลเลอร์เถื่อน นำเข้าโดยผิดกฎหมาย ไม่มีเลขทะเบียน ไม่มีการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ทำให้ขาดการควบคุมมาตรฐานและปลอดภัย
ไม่มีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ฟิลเลอร์แท้ต้องเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ฟิลเลอร์ปลอมมักไม่มีการควบคุมการจัดเก็บที่ถูกต้องตามข้อกำหนด ทำให้ตัวยาเสื่อมคุณภาพและก่อให้เกิดปัญหาหลังฉีด เช่น การอักเสบหรือติดเชื้อ
ราคาถูกผิดปกติ
ฟิลเลอร์ปลอมมักมีราคาถูกกว่าฟิลเลอร์แท้ในท้องตลาดอย่างมาก โดยมักพบในคลินิกเถื่อน หรือการฉีดโดยหมอกระเป๋า หลายคนคิดผิดว่าคุ้มค่า แต่ที่จริงแล้วหลังฉีดจะส่งผลเสียในระยะยาว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อรักษาในภายหลัง หากพลาดไปฉีด ขอบอกเลยว่าได้ไม่คุ้มเสียแน่นอนครับ
ตรวจสอบเลข Lot ไม่ได้
ฟิลเลอร์แท้ทุกกล่องจะมี เลข Lot. ระบุชัดเจนบนกล่องและหลอดฟิลเลอร์ เพื่อให้สามารถโทรไปตรวจสอบย้อนหลังได้กับบริษัทผู้นำเข้า
แต่หากพบว่าฟิลเลอร์ไม่มีกล่อง ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เช่น ไม่มีเลข Lot. ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขทะเบียน อย. หรือพบร่องรอยการแกะกล่อง แกะสติกเกอร์ มาก่อนเปิดใช้งาน ต้องระวังมาก ๆ ครับ เพราะอาจเป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน
วิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ ป้องกันฟิลเลอร์ปลอม ตรวจสอบอย่างไร ?
การเลือกใช้ ฟิลเลอร์แท้ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี วิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ชนิด Hyaluronic Acid (HA) ที่สลายได้ 100% และไม่มีสารตกค้าง สามารถตรวจสอบได้เบื้องต้น ดังนี้

- ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ : ฟิลเลอร์แท้ต้องมีเลขทะเบียน อย. มีเอกสารกำกับภาษาไทยและเลข lot ที่ตรงกันทุกจุด (กล่อง, ซอง, สติกเกอร์, หลอด) และบรรจุภัณฑ์สมบูรณ์ ไม่มีรอยแกะหรือความเสียหาย
- วิธีการเก็บรักษา : ควรเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม 0-25 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- การใช้งานในคลินิก : แพทย์แกะกล่องและหลอดใหม่ให้ดูต่อหน้า และสามารถให้คนไข้นำกล่องกลับบ้านได้เพื่อตรวจสอบกับบริษัทผู้นำเข้า
- คลินิกและแพทย์ที่ได้มาตรฐาน : คลินิกต้องได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องและผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ต้องมีประสบการณ์ด้านการปรับรูปหน้าและฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง
ตัวอย่างวิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ 3 ยี่ห้อยอดนิยม
1. วิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ ยี่ห้อ Juvederm อเมริกา

- มีเลขทะเบียน อย. และมีเอกสารกำกับภาษาไทยอยู่ภายในกล่อง
- กล่องมี 2 cc และเลข lot ต้องตรงกัน 4 จุด(กล่อง, ซอง, สติกเกอร์, หลอด)
- ตรวจสอบเลข lot และคลินิกได้กับ Allergan Thailand โทร. 062-460-7717
2. วิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ ยี่ห้อ Restylane สวีเดน

- มีรอยปรุสำหรับเปิดกล่อง
- มีเลขทะเบียน อย. และมีเอกสารกำกับภาษาไทยอยู่ภายในกล่อง
- มีสติกเกอร์ โมโนแกรม คำว่า “VOID”
- เลข lot. ตรงกัน 2 จุด (กล่อง, หลอด)
- สแกน QR CODE ด้วยแอปพลิเคชัน Eztracker เพื่อตรวจสอบยาแท้
- สามารถสอบถามเลข lot. และคลินิกได้ที่บริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02 023 1800 ต่อ 402
3. วิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ ยี่ห้อ Belotero สวิตเซอร์แลนด์

- มีเลขทะเบียน อย. และมีเอกสารกำกับภาษาไทยอยู่ภายในกล่อง
- กล่องมี 1 cc และเลข lot ต้องตรงกัน 3 จุด (กล่อง, สติกเกอร์, หลอด)
- สามารถโทรสอบถามเลข lot. และคลินิกได้ที่บริษัท เมิร์ซ เฮลธ์แคร์ โทร. 02 026 1111
ฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ไหม ?
กรณีที่คนไข้ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมมา หากต้องการแก้ไข จะไม่สามารถใช้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) เพื่อฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้เหมือนฟิลเลอร์แท้ วิธีแก้ไขคือต้องทำการขูดฟิลเลอร์หรือผ่าตัดฟิลเลอร์ออกเท่านั้น
นอกจากนี้การขูดหรือเลาะฟิลเลอร์อาจไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ปลอมออกได้หมด 100% มักได้ผลประมาณ 60-70% และต้องระวังเส้นเลือดสำคัญ รวมถึงเส้นประสาทต่าง ๆ ในบริเวณที่ทำ ดังนั้น ถ้าต้องแก้ไขหลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม ควรเลือกทำกับแพทย์ศัลยกรรมในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยครับ
สรุปเรื่องฟิลเลอร์ปลอม อันตรายห้ามฉีด
การฉีดฟิลเลอร์ปลอม เป็นสิ่งที่อันตรายและไม่ควรเสี่ยงเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น ผิวเน่า อักเสบ ติดเชื้อ ฟิลเลอร์เป็นก้อน ไหลย้อย หรือใบหน้าผิดรูป การเลือกฉีดฟิลเลอร์แท้ประเภท HA และฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ในคลินิกที่ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้น อย่าลืมสังเกตฟิลเลอร์แท้ให้ดีก่อนฉีด เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี ไม่เสี่ยงกับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมครับ